Wednesday 10 September 2008

เล่นอะไรดี

พอ ดีไปเจอในแวบแปลน มาเลยเอามาแบ่งปันกันอ่านดีก่าเนาะ

คงดีไม่น้อยถ้าได้เปิดกว้างการเรียรรู้ผ่านการเล่น โดยไม่ต้องเสียตังซื้อของเล่น เพราะผมคนนึงละครับที่ ไม่ชอบซื้อพวกของเล่นให้ลูกเท่าไหร แต่ถ้าทำเองละก็ถึงไหนถึงกันครับ 2 ขวบแล้วจ้า เล่นอะไรกันดี การเล่นของเด็กวัยนี้ พัฒนาจากการเล่นเดี่ยว ไม่ค่อยสนใจใคร หรือเล่นกับเพื่อนได้แป๊บเดียว สู่การเล่นกับเพื่อนมากขึ้น รู้จักการแบ่งปัน กิจกรรมสำหรับเด็กวัยนี้ ควรเน้นพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก กล้ามเนื้อมัดใหญ่ และการสร้างปฏิสัมพันธ์โดยการเล่นกับพ่อแม่ พี่เลี้ยง หรือเพื่อนๆ มากขึ้น Growing Up ฉบับนี้ มีกิจกรรมสนุกๆ เล่นได้ทั้งครอบครัว ทั้งหมด 7 กิจกรรมด้วยกัน

1. แมงมุมขยุ้มหลังคา
เกมนี้ คุณพ่อคุณแม่เล่นกับลูกโดยเริ่มจากการจีบมือทั้งสองข้าง แล้วคว่ำมือลงข้างหนึ่งจับบนหลังมืออีกข้างหนึ่ง จากนั้น เอามือทั้งสองข้างของตัวเองที่จับต่อกันไว้ และจับมือคนอื่นๆ ด้วย ซึ่งข้างล่างสุดอาจเป็นมือคุณพ่อ ถัดขึ้นมาก็เป็นคุณแม่ และเจ้าตัวเล็กจับอยู่ด้านบนสุด ระหว่างที่เล่นร้องเพลง ”แมงมุมขยุ้มหลังคา แมวกินปลา หมากัดกระพุ้งแก้ม” พร้อมกับเขย่ามือขึ้นลง

2. ปูไต่
ชวนจั๊กจี๋ ให้ลูก ชู้นิ้วชี้กับนิ้วกลางขึ้นมาเป็นรูปตัววี จากนั้น คว่ำมือลง แล้วทำท่าเหมือนคนก้าวขาเดิน จะลองเดินไปข้างหน้า เดินถอยหลัง เดินข้ามเครื่องกีดขวาง ก้าวยาวบ้าง สั้นบ้าง หรือจะลองไต่ไปตามร่างกาย แขน ขา ไหล่ พร้อมกับเรียกชื่ออวัยวะนั้นๆ ด้วย ก็ยิ่งสนุก แถมยังได้รู้จักอวัยวะของร่างกายมากขึ้นด้วย

3. หุ่นนิ้ว กระดุ๊กกระดิ๊ก
เกมนี้ต้องมีตัวช่วย ก่อนอื่นคุณแม่ต้องทำหุ้นนิ้วเป็นรูปต่างๆ หลักง่ายๆ ก็คือ ต้องทำให้หุ่นตัวนั้นๆ สวมนิ้วมือได้ วัสดุที่ให้อาจจะเป็นกระดาษม้วนเป็นวงกลม แล้วลองสวมนิ้วมือของเจ้าตัวเล็กดูก่อน ส่วนที่ว่าจะทำเป็นรูปอะไรดี อาจเริ่มจากตัวการ์ตูนในนิทานที่เคยอ่านกันเป็นประจำ ลองวาดเป็นรูปง่ายๆ ให้เจ้าตัวเล็กช่วยระบายสี นำไปติดเข้ากับกระดาษที่ม้วนไว้ แค่นี้ก็ได้ตัวละครในนิทานเรื่องโปรดมาโลดแล่นอยู่บนนิ้วมือ ทำหลายๆ แบบ หลายๆ ตัว นำมาเล่าประกอบนิทาน หรือสร้างสรรค์เป็นนิทานเรื่องใหม่ ขึ้นมาก็ได้ตามจินตนาการ
4. ฉันเป็นใครเอ่ย?
อุปกรณ์ที่เป็นตัวเสริมเพื่อให้เล่นได้สนุกมากยิ่งขึ้น อาจไม่จำเป็นต้องซื้อหาราคาแพง เป็นวัสดุเหลือใช้ที่มีอยู่ในบ้าน นำมาปรับแต่ง เช่น เสื้อผ้าที่ไม่ใช้แล้วนำมาดัดแปลงเป็นเสื้อผ้าตุ๊กตา แล้วเล่นเป็นพ่อ แม่ ลูก เล่นเป็นพยาบาลกับคนไข้ หรือเล่นไปจ่ายตลาด คุณพ่อคุณแม่จะเล่นด้วย หรือให้ลูกชวนเพื่อนวัยเดียวกันมาเล่นด้วยก็ยิ่งดีเลยค่ะ เพราะเด็กจะได้เรียนรู้การเล่น ร่วมกับผู้อื่น ฝึกการคิด การตัดสินใจ และการรู้จักแบ่งปัน
5. ลากจูง เดินทาง (ไม่) ไกล
เมื่อพูดถึงของลากจูงต้องนึกถึงวงล้อที่หมุนเคลื่อนที่ได้ หากมีของเล่น หรือรถที่ลากเล่นได้อยู่แล้ว ก็อาจจะลองเปลี่ยนบรรยากาศไปเดินเล่นตามสวนสาธารณะ สนามเด็กเล่นบ้าง แต่ถ้าเด็กๆ คนไหนที่อยากได้ของเล่นชิ้นใหม่ คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยเด็กๆ ประดิษฐ์ได้ง่ายๆ จากของเหลือใช้ภายในบ้าน โดยใช้หลอดด้าย หรือใช้ฝากระป๋องหรือขวดที่มีขนาดเท่ากัน 2 อัน เจาะรูตรงกลาง สอดหลอดพลาสติกเข้าไปเชื่อมฝาขวดทั้ง 2 อัน ติดกาวหรือมัดด้วยเชือกให้แน่น จากนั้น สอดแท่งไม้เข้าไปตรงกลางแกนหลอดพลาสติก หรือหลอดด้าย ผูกเชือกที่ปลายแกนไม้ทั้งสองข้าง อาจตกแต่งให้สวยงาม ประดิษฐ์ให้เป็นรูปรถ ตุ๊กตาแบบมีล้อหมุนก็ได้ 6.กระโดด ปีนป่าย และยืนกระต่ายขาเดียว จัดพื้นที่ที่ปลอดภัยภายในบ้าน ให้เด็กได้ปีนป่าย หรือเล่นเกมกระโดดข้ามเครื่องกีดขวางโดยนำผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัวมาเป็นลู่วิ่ง และเครื่องกีดขวางให้เด็กได้กระโดดข้าม วิ่งหลบหลีก หรือถ้าเล่นกันจนเหนื่อยแล้ว ก็ลองเล่นยืนกระต่ายขาเดียวแข่งกัน

7. เตะบอลหรรษา
วันว่างในช่วงสุดสัปดาห์ ขณะที่คุณพ่อคุณแม่พาเด็กๆ หรือเพื่อนๆ ของลูกไปตามสนามเด็กเล่น สวนสาธารณะใกล้บ้าน นำลูกบอลและตะกร้าติดมือไปด้วย ชักชวนเด็กๆ เล่นสนุกได้ตั้งแต่การเตะบอล ขว้างลูกบอลแล้ววิ่งหลบ โยนบอลไปมา และโยนลูกบอลลงตะกร้า นอกจากจะได้ออกกำลังกาย เสริมพัฒนาการแล้ว ยังได้สูดอากาศบริสุทธิ์และสร้างความสัมพันธ์อันดีใน ครอบครัวอีกด้วย

ลองเอาประยุกต์ใช้กันดูนะจ๊ะ

No comments: